top of page

แนวทางบำบัด

Living with an Implant

การใช้ชีวิต กับประสาทหูเทียม

ประสาทหูเทียมเหมือนเครื่องช่วยฟังหรือไม่

 

ประสาทหูเทียมนี้จะแตกต่างจากเครื่องช่วยฟัง ตรงที่เครื่องช่วยฟังจะทำการขยายเสียงให้ดังขึ้นเท่านั้น ไม่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยประสาทหูพิการเข้าใจเสียงที่ได้ยิน แต่เครื่องประสาทหูเทียมจะไปทดแทนส่วนของประสาทหูที่ถูกทำลายและช่วยกระตุ้นประสาทรับเสียงที่หูชั้นใน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาได้ยินเสียงอีกครั้ง

กลุ่มไหนที่ต้องใช้ประสาทหูเทียม

การที่จะพิจารณาว่าผู้ป่วยลักษณะใดที่เหมาะกับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม มีเกณฑ์คือ ต้องเป็นผู้ป่วยที่ประสาทหูพิการทั้งสองข้าง ในระดับตั้งแต่ 70 เดซิเบลขึ้นไป หรือหูหนวกสนิททั้งสองข้าง และใช้เครื่องช่วยฟังแล้วไม่ได้ผล หรือเป็นเด็กเล็กที่สูญเสียการได้ยินอย่างรุนแรงตั้งแต่กำเนิด ซึ่งหากได้รับการผ่าตัดตั้งแต่ยังเล็ก ๆ จะได้ผลดีมาก สามารถช่วยให้เด็กมีพัฒนาการได้เท่ากับเด็กปกติ รวมทั้งเป็นเด็กที่อายุมากกว่าสองขวบ และประสาทหูพิการมากกว่า 90 เดซิเบล โดยต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ประกอบความเหมาะสม ว่าควรที่จะผ่าตัดหรือไม่
ที่สำคัญ ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงในการผ่าตัด เช่น มีความผิดปกติในอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการฝังประสาทหูเทียม รวมทั้งมีปัญหาในการดมยาสลบ

การวินิจฉัยก่อนผ่าตัด

เมื่อแพทย์พิจารณาว่า ผู้ป่วยมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแล้ว จะต้องวินิจฉัยต่อไปตามขั้นตอนต่อไปนี้ เริ่มจากตรวจวินิจฉัยทางโสตสัมผัสวิทยา แล้วตรวจเอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือซีทีสแกนหรือ MRI ของหูชั้นใน ตรวจเลือด และตรวจร่างกายอื่น ๆ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการผ่าตัด จากนั้นให้ลองใช้เครื่องช่วยฟังชนิดกำลังขยายสูง และประเมินด้านจิตวิทยา เพื่อดูระดับสติปัญญา ความปกติทางด้านอารมณ์และสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในการพิจารณาว่า ผู้ป่วยควรได้รับการผ่าตัดหรือไม่ เนื่องจากพบว่าผู้ที่มีความบกพร่องบางราย เมื่อได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแล้ว อาจสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ที่ดีขึ้น แล้วค่อยวินิจฉัยถึงสาเหตุของอาการหูตึง หูหนวกว่าเกิดจากอะไร

ความเสี่ยงและการดูแลตัวเองหลังผ่าตัด

ความเสี่ยงที่เกิดจากการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมนั้น อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเหมือนการผ่าตัดอื่นๆ อาจมีอาการชาบริเวณแผลผ่าตัด ชาที่ลิ้น หรือใบหน้า ปวดคอ มึนงง มีเสียงดังในหู ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดเพียงชั่วคราวเท่านั้น และจะกลับมาเป็นปกติหลังแผลผ่าตัดหายสนิทแล้ว นอกจากนี้ ยังพบอาการน้ำในหูชั้นในรั่วได้ การกระตุกของใบหน้า แต่สามารถรักษาให้หายได้ ส่วนการติดเชื้อที่แผลนั้นพบเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น


หลังจากผ่าตัดแล้ว แผลผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมจะหายสนิทหลังผ่านไปได้ 3 - 5 สัปดาห์ จากนั้นนักตรวจการได้ยินจะทำการปรับแต่งเสียงให้ได้ระดับที่พอเหมาะ ซึ่งการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมนี้ จะมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยเอง เพราะหลังจากฝังประสาทหูเทียมแล้ว จากนั้นผู้ป่วยจะต้องมารับการบำบัดฟื้นฟู และเรียนรู้การแปลความหมายของเสียงที่ได้ยินจากเครื่อง โดยระยะเวลาการเรียนรู้จะแตกต่างไปในแต่ละบุคคลหาในการดมยาสลบ

หลังผ่าตัด ต้องดูแล ระมัดระวังเรื่องใดบ้าง

หลังผ่าตัด เด็กสามารถออกกำลังกาย เล่นกีฬา และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้เหมือนคนปกติทั่วไป แต่ต้องระมัดระวังให้มากขึ้น และหมั่นดูแลรักษาเครื่องมือ ซึ่งก็เพียงแค่รักษาความสะอาด ไม่ให้เปียกชื้น หากชิ้นส่วนที่อยู่ภายนอกชำรุด ก็สามารถเปลี่ยนหรือซ่อมได้
ในกรณีเด็กเล็กที่ผ่าตัดประสาทหูเทียมมานั้น อาจจะไม่เคยได้รับการฝึกพัฒนาการทางภาษามาก่อน ทำให้ต้องมีคนในครอบครัว ครู เพื่อน ๆ หรือนักอรรถบำบัด ให้ความร่วมมือคอยกระตุ้นตลอดเวลา

ฝังประสาทหูเทียมแล้ว ฟังได้ดีแค่ไหน

แม้ผู้ป่วยแต่ละรายจะได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแล้ว แต่ประสิทธิภาพการใช้งานไม่เท่ากัน โดยอาจเป็นเพราะปัจจัยต่างๆ ดังนี้


1. การรับรู้แยกแยะเสียงต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม และสังคม ซึ่งหากผู้ป่วยสามารถรับรู้เสียง และแยกแยะออกมาก่อน ก็จะช่วยให้ประสิทธิภาพการใช้งานดีขึ้น


2. สาเหตุที่สูญเสียการได้ยิน ผู้ที่สูญเสียการได้ยินจากสาเหตุต่างกัน เช่น สูญเสียการได้ยินจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบสูญเสียการได้ยินที่ประสาทส่วนกลางและสมอง ย่อมมีผลต่อประสิทธิการใช้งานของประสาทหูเทียมต่างกัน
 


3. อายุที่เริ่มสูญเสียการได้ยิน เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ เพราะหากสูญเสียการได้ยินก่อนเรียนรู้ภาษาต่าง ๆ มาก่อน แต่หากเป็นผู้ที่เคยเรียนรู้ภาษามาก่อน และเพิ่งมาสูญเสียการได้ยิน จะได้รับประโยชน์จากการใช้ประสาทหูเทียมมากกว่า


4.อายุที่ได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเมื่ออายุน้อย ๆ จะได้รับประโยชน์จากประสาทหูเทียมมากกว่าเมื่อผ่าตัดเมื่ออายุมาก โดยเฉพาะในเด็กถ้าทำการผ่าตัดก่อนอายุ 2 ขวบ จะได้รับประโยชน์สูงสุด


5. ระยะเวลาที่สูญเสียการได้ยิน หากเพิ่งสูญเสียการได้ยิน และได้รับการผ่าตัดโดยเร็ว จะทำให้ผู้ป่วยฟื้นฟูความสามารถในการฟังได้ดีกว่ามาก เพราะประสาทการได้ยินและสมองส่วนที่แปลเสียงยังคงการรับรู้ไว้อยู่


6. ชนิดของประสาทหูเทียม เพราะเทคโนโลยีและชนิดของแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อต่างกัน ความสามารถจึงแตกต่างกันไปด้วย

ข้อจำกัด

การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมเช่นนี้ มีค่าใช้ค่อนข้างจ่ายสูง ซึ่งแตกต่างกันตามชนิดของประสาทหูเทียม และไม่ได้สิ้นสุดที่การผ่าตัดเสร็จเท่านั้น แต่ภายหลังการผ่าตัดยังต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งค่าบริการของโรงพยาบาลแต่ละแห่งด้วย ดังนั้นแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจึงต้องมีการพิจารณาคัดเลือกผู้ป่วย ที่น่าจะมีโอกาสใช้งานประสาทหูเทียมได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ก่อนทำการผ่าตัด เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามากที่สุด นอกจากนี้ผู้ป่วยไม่ควรตั้งความหวังในประสิทธิภาพมากเกินไป เพราะต้องขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน

คำแนะนำ

สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการให้เด็กทำการผ่าตัดประสาทหูเทียมนั้น ควรมีการวัดและประเมินการได้ยิน และศึกษาเรื่องการผ่าตัดประสาทหูเทียมจนเข้าใจก่อน เพื่อจะช่วยให้มีการพัฒนาทักษะการได้ยินที่ดี และเมื่อใส่เครื่องแปลงสัญญาณแล้ว การปรับเครื่องแปลงสัญญาณในเด็กอาจต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะการทำในลักษณะนี้จะช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับเสียงใหม่ที่เพิ่งได้ยิน และให้มีประสบการณ์การได้ยินเบื้องต้นที่ดีก่อน
ดังนั้น การผ่าตัดในผู้ที่มีอายุน้อยและได้รับการฝึกฝนให้เกิดพัฒนาการด้านภาษาพูดหลังการผ่าตัด หรือการผ่าตัดในผู้ที่เคยมีภาษาพูดมาก่อนและยังไม่หลงลืมภาษาเหล่านั้นไป จะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดจากเครื่องประสาทหูเทียม
ที่สำคัญ พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเด็ก เพื่อให้เกิดความเคยชินในเวลาที่เด็กอยู่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้มีพัฒนาการที่เร็วขึ้น ตลอดจนมีแรงบัลดาลใจที่จะพยายามสื่อสารจากเสียงที่ได้ยินใหม่ด้วย

Family with Implants

หน้าที่ของ ครอบครัว

ความสำคัญของการฝึกพูด  พ่อ แม่ สำคัญอย่างไร

การให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ต่อความสำเร็จในการพัฒนาเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เพราะหากผู้ปกครองได้รับความรู้และข้อมูลเพิ่มขึ้นก็จะสามารถช่วยเหลือลูก ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินให้สื่อสารไปในโลกแห่งการสื่อสารได้มากขึ้น เช่นกัน

1. พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเด็ก เช่น  การดูแลอุปกรณ์ประสาทหูเทียม  เทคนิคการแก้ไขคำพูด การออกเสียงตามแต่ละช่วงวัย
 

2. การฝึกอบรมการสื่อสารเป็นประจำกับผู้เชี่ยวชาญการพูด  ผู้ปกครอง ควรเข้าไปดูเทคนิคการฝึกจากครู และประเมิณคำพูด ประโยคที่ต้องการไขด้วยกัน  และนำกลับไปฝึกที่บ้าน ขั้นต่ำวันละ 1 ชม.
 

3. พาเด็ก หรือ ผู้ใส่ประสาทหูเทียมเข้ารับการประเมนการได้ยิน  ตามที่ทีมแพทย์และพยาบาลแนะนำ
 

4. ทดสอบการได้ยิน  เช่น  เทสซาวด์  อา อู อี ชู ซ ทุกครั้งเมื่อเปิดใช้งานอุปกรณ์ สำหรับเด็กเล็ก
 

5. ช่วงแรกของการใส่เครื่อง ต้องคอยดูแลไม่ให้เด็กๆ ถอดเครื่องออก  พยายามโน้มน้าวให้เด็กเห็นความสำคัญของการสื่อสารด้วยการพูด
 

6. ให้ข้อมูลกับทุกคนในครอบครัว  ในการให้ภาษาเด็กเมื่อเปิดใช้งานอุปกรณ์ประสาทหูเทียมเพื่อให้เด็กสนใจเสียง และสื่อสารด้วยภาษาพูด หมั่นพูด และอธิบายเมื่อเกิดเหตุการณ์ หรือการกระทำ เพื่อให้เด็กได้เพิ่มภาษารับ เข้าใจภาษาสอดคล้องกับกิจกรรม ต่างๆ
 

7. ให้กำลังใจเมื่อเด็กๆ สามารถพูดได้  ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือประโยค  ตามพัฒนาการ
 

8. ผู้ปกครองต้องเป็นต้นแบบในการฝึกพูด  ตั้งแต่เริ่มเปิดเครื่อง  ทั้งการฝึกฟัง และฝึกพูดให้เป็นคำ และเป็นประโยคจาก 2 คำ / 3 คำ โดยฝึกอย่างต่อเนื่อง
 

Speech Exercises 2
Kru-Pu_01
01:15
Kru-Pu_02
01:30
Kru-Pu_03
01:01

แบบฝึกหัดพูด

bottom of page