top of page
What are CI

ประสาทหูเทียม คืออะไร

ทำความรู้จักกับ..ประสาทหูเทียม

ประสาทหูเทียม หรือ อุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิกส์ ทำหน้าที่แทนเซลล์ประสาทในโคเคลียของหูชั้นใน ในการแปลงพลังงานเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นเส้นประสาทการได้ยินและสมองให้รับรู้ โดยประสาทหูเทียมนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. อุปกรณ์ภายนอก (Sound processor)

เมื่อรับสัญญาณเสียงจากสิ่งแวดล้อมด้วยไมโครโฟนมาแล้ว อุปกรณ์ภายนอกจะแปลงสัญญาณเสียงเป็นระบบดิจิตอล ก่อนจะส่งผ่านไปยังอุปกรณ์นำเสียง (Transmitting antenna) และอุปกรณ์ติดศีรษะ (Headpiece) เพื่อส่งเข้าสู่อุปกรณ์ภายใน

2. อุปกรณ์ภายใน (Implant)

หลังรับสัญญาณระบบดิจิตอลมาจากอุปกรณ์ภายนอกแล้ว อุปกรณ์ภายในจะแปลงกลับเป็นสัญญาณไฟฟ้า ก่อนจะส่งผ่านทางสายอิเลคโทรดไปยังปุ่มอิเลคโทรดที่ผ่าตัดสอดฝังไว้ตามความยาวของโคเคลีย แล้วสัญญาณไฟฟ้าจะทำหน้าที่กระตุ้นปลายประสาทการได้ยินและส่งสัญญาณต่อไปยังสมองเพื่อแปลความหมาย

ประสาทหูเทียม เหมาะกับใคร

1.เด็กเล็กที่สูญเสียการได้ยินอย่างรุนแรงตั้งแต่กำเนิด ซึ่งถ้าได้รับการผ่าตัดก่อนอายุ 2 ขวบ เด็กจะสามารถมีพัฒนาการเทียบเท่าเด็กปกติได้

2.ผู้ใหญ่ที่สูญเสียการได้ยินอย่างรุนแรง ซึ่งการใช้เครื่องช่วยฟังไม่ได้ผลหรือได้ผลน้อยมาก

3.เด็กที่อายุมากกว่า 2 ขวบ ที่มีอาการประสาทหูพิการมากกว่า 90 เดซิเบล แต่ทั้งนี้... การผ่าตัดต้องใช้ผลการตรวจการได้ยินอื่นๆ มาประกอบการพิจารณาด้วย

THE BEST FOLEY_Draft3_2018.07.20

THE BEST FOLEY_Draft3_2018.07.20

Play Video
benefits

ประโยชน์ ของประสาทหูเทียม

1.สำหรับผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่พบว่าได้ประโยชน์ทันที และดีขึ้นตามลำดับในช่วงประมาณ 3 เดือนหลังจากเปิดเครื่อง และค่อยๆดีขึ้นตามลำดับ ความก้าวหน้าเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปต่อเนื่องอีกหลายปี

2.สำหรับเด็ก ความก้าวหน้าจะค่อยเป็นค่อยไป ช้ากว่าในผู้ใหญ่ การฟื้นฟูหลังการผ่าตัด เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อช่วยให้เด็กใช้การได้ยินให้เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อโอกาสทางการศึกษา

3.ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมจะสามารถได้ยินเสียงสภาพแวดล้อมตั้งแต่เบา จนถึงดัง เช่น เสียงฝีเท้า เสียงประตูปิด เสียงเครื่องยนต์ เสียงโทรศัพท์ เสียงใบไม้ไหว เสียงสวิทช์ปิด-เปิด ฯ

4.ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมส่วนใหญ่เข้าใจเสียงพูดโดยไม่ต้องอ่านปาก

5.ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมส่วนใหญ่สามารถสนทนาทางโทรศัพท์ได้ และจำได้ว่าเป็นเสียงใครกับผู้ที่คุ้นเคย และผู้ที่ไม่เคยพูดคุยกันมาก่อน อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถสนทนาทางโทรศัพท์ได้

6.ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมส่วนใหญ่ฟังเสียงจากโทรทัศน์ได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้เห็นหน้าผู้พูด อย่างไรก็ตาม การฟังวิทยุจะค่อนข้างลำบากกว่า เนื่องจากไม่เห็นหน้าผู้พูด

7.ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมส่วนใหญ่เพลิดเพลินกับการฟังเพลง และได้ยินเสียงเครื่องดนตรี เช่น เปียโน กีตาร์ ฯ และเสียงนักร้อง ในขณะที่บางคนไม่สามารถได้ยินดีเพียงพอที่จะเพลิดเพลินกับเสียงดนตรีได้

8.ช่วงการได้ยินของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมเป็นไปได้ตั้งแต่ความสามารถในการเข้าใจเสียงพูดได้เกือบใกล้เคียงปกติ จนถึงไม่ได้รับประโยชน์จากการได้ยินเลย

object

ข้อจำกัดและอุปสรรค

1.ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง

2.อาจได้รับผลข้างเคียงจากการผ่าตัด เช่น ใบหน้าชา ฯ

3.ผู้ใส่ประสาทหูเทียมต้องหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่มีการกระแทกสูง

4.ค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษาเครื่องระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

5.ความทุ่มเทและเวลาที่ต้องใช้ในการเข้ารับการฟื้นฟูทักษะการฟัง การพูด หลังผ่าตัด

bottom of page