การเตรียมตัวและวิธีการดูแล
การรักษา ด้วยประสาทหูเทียม

ขั้นตอนก่อนการผ่าตัดประสาทหูเทียม
1. การตรวจประเมินการได้ยิน
ก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมจะต้องผ่านการตรวจการได้ยินเพื่อให้รู้ว่าระดับการได้ยินมีระดับที่สูญเสียขั้นรุนแรงหรือมากกว่า 90 เดซิเบล (90 DB) ซึ่งหมายถึงมีความสามารถในการจับ หรือรับรู้เข้าใจคำพูดน้อยมากเมื่อใส่เครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับระดับการได้ยิน
โดยการตรวจการได้ยินนี้ จะประเมินโดยนักโสตสัมผัสวิทยา หรือผู้ตรวจการได้ยิน ซึ่งสามารถตรวจได้ตามโรงพยาบาลทั่วๆไป
2. การประเมินสภาวะทางจิต และสติปัญญาหรือพัฒนาการในเด็ก
ก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม จะต้องมีการตรวจสุขภาพจิตและระดับสติปัญญา เนื่องจากในการเรียนรู้ในการฟังและการพูด ผู้ที่ใช้ประสาทหูเทียมจะต้องใช้สมาธิและสติปัญญาของตนเองร่วมกับความช่วยเหลือของทีมงานที่ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของการได้ยินและคนในครอบครัว ดังนั้นระดับสติปัญญาและสุขภาพจิตจึงมีความสัมพันธ์ต่อผลที่ได้จากการใช้เครื่องประสาทหูเทียมเป็นอย่างมาก เพราะมิฉะนั้นหลังการผ่าตัดประสาทหูเทียมก็จะไม่สามารถฟื้นฟูทางการฟังและภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ประเมินความพร้อมของครอบครัวที่จะดูแลและติดตามการรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพภายหลังการผ่าตัด
โดยเฉพาะสำหรับเด็กซึ่งต้องมีผู้ปกครองช่วยในการฟื้นฟู สอน รวมถึงดูแลเครื่องประสาทหูเทียมในตอนที่เด็กยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เช่น การใส่ ถอด เปิด-ปิดเครื่อง รวมถึงการบำรุงรักษา
4. การตรวจร่างกาย
-
การซักประวัติเพื่อหาสาเหตุของการสูญเสียการได้ยิน
-
การตรวจหูหาความผิดปกติของหูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง
-
การตรวจปัสสาวะ ปอด หัวใจ เพื่อตรวจดูความสมบูรณ์ของร่างกายก่อนผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมด้วยการดมยาสลบตรวจร่างกาย โดยในเด็กเล็กต่ำกว่า 1 ปี อาจจะต้องปรึกษาหมอวิสัญญีแพทย์
-
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์และตรวจเลือด เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการผ่าตัด
-
การตรวจ CT Scan และตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็ก MRI เพื่อตรวจสอบกายวิภาคของหูชั้นใน รวมถึงพยาธิสภาพของกระดูกก้นหอย (Cochlea) ว่าสามารถที่จะฝัง Electrode เข้าไปได้หรือไม่
หากทุกอย่างเป็นไปตามเกณฑ์ก็สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้


เตรียมตัวก่อน ใช้งานประสาทหูเทียม
ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการใช้ประสาทหูเทียม
1.การรับรู้และความสามารถในการแยกแยะเสียงของผู้ป่วย..ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
2.สาเหตุของการสูญเสียการได้ยิน โดยผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินจากโรคบางชนิดอาจเป็นข้อจำกัดในการผ่าตัด
3.ผู้ป่วยที่เคยรับรู้เรื่องภาษามาก่อน...แล้วสูญเสียการได้ยินทีหลัง จะได้รับประโยชน์มากกว่าผู้สูญเสียการได้ยินตั้งแต่กำเนิด
4.ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดตั้งแต่อายุยังน้อย..จะได้รับประโยชน์จากประสาทหูเทียมมากกว่าผู้ที่ผ่าตัดตอนอายุมาก
5.หลังสูญเสียการได้ยิน ยิ่งได้รับการผ่าตัดเร็ว...ยิ่งสามารถฟื้นฟูการได้ยินและการฟังได้ดีกว่า
6.ประสาทหูเทียมแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ...มีเทคโนโลยีที่ต่างกัน ทำให้ส่งผลต่อผู้ป่วยต่างกันออกไปด้วย



ค้นหา โรงพยาบาล


การดูแลรักษา หลังผ่าตัด
หลังการผ่าตัดประมาณ 3 สัปดาห์จึงจะสามารถเปิดและใช้เครื่องประสาทหูเทียมได้ ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการฝึกและทดสอบสมรรถภาพการฟังและการพูดกับทีมงานฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินตามตารางที่กำหนด เพื่อให้เกิดพัฒนาการได้ยินและการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ
